การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 1 การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง

675 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 1 การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง

การคิดเชิงระบบ (System Thinking)

หลักการที่ 1 

การวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง (Root Cause Analysis) = วิธีคิดแบบคิดจากเหตุไปหาผล -

ความรับผิดชอบที่สำคัญของผู้นำ ผู้บริหาร ผู้จัดการ คือ การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาและตัดสินใจ (Problem Solving and Decision Making) ได้ถูกต้องแม่นยำตรงประเด็น และรวดเร็ว การจะวิเคราะห์ได้ดีนั้น ไม่ใช่แค่มีความรู้ในงานเพียงอย่างเดียวแต่ต้องมีทักษะในการวิเคราะห์กระบวนการที่จะหาสาเหตุรากเหง้า (สาเหตุที่แท้จริง) ซึ่งต้องมีการฝึกฝนเป็นประจำ จึงจะวิเคราะห์ได้ถูกต้องแม่นยำตรงประเด็น และรวดเร็ว

การวิเคราะห์หาสาเหตุรากเหง้า เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริง นำไปสู่แนวทางแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ (ปัญหาคือ ผลลัพธ์ ที่ไม่พึงประสงค์ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย) การบริหาร การจัดการ การปฏิบัติงาน เมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้ว ต้องวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหานั้นให้ได้ทันที ไม่ให้กระทบต่อกระบวนการถัดไป (ลูกค้าภายใน) และไม่ให้กระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า การเห็นสาเหตุที่แท้จริงจะทำให้ค้นหาแนวทางแก้ปัญหาและการตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำตรงประเด็น และรวดเร็ว เป็นการแก้ปัญหาเชิงป้องกันคือ แก้ปัญหาที่สาเหตุรากเหง้า (สาเหตุที่แท้จริง) ไม่เกิดปัญหานั้นซ้ำอีก

การคิดเชิงระบบที่เป็นการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง เริ่มจากการมองเห็นปัญหา มีการเก็บข้อมูลปัญหา แยกแยะประเภทปัญหา และรวบรวมให้เห็นปัญหาที่มีความสำคัญจากมากไปน้อย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติจะไม่ได้เกิดขึ้นเอง (ปัญหาคือ ผลลัพธ์ ที่ไม่พึงประสงค์ ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย) ต้องมาจากเหตุหรือกระบวนการ

เหตุหรือกระบวนการ ประกอบด้วยปัจจัย 4M / 5M / 6M แล้วแต่ธุรกิจ ได้แก่ คน (Man) เครื่องจักร (Machine) วัตถุดิบ (Material) วิธีการ (Method) เงิน (Money) การจัดการ (Management) เมื่อเกิดปัญหาจะต้องมีการประชุมระดมสมองผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการทั้งหมด เพื่อสืบสาวหาสาเหตุของปัญหา ด้วยการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กัน โดยการตั้งคำถามว่า “ทำไมจึงเกิดเช่นนั้น...ทำไมจึงเกิดเช่นนั้น... ทำไมจึงเกิดเช่นนั้น ...ทำไมจึงเกิดเช่นนั้น...ทำไมจึงเกิดเช่นนั้น” ไปที่กระบวนการ (เหตุ) เพื่อหาสาเหตุรากเหง้าของปัญหาออกมา ก็จะได้สาเหตุที่แท้จริงจะทำให้ค้นหาแนวทางแก้ปัญหาและการตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำตรงประเด็น และรวดเร็ว เป็นการแก้ปัญหาเชิงป้องกัน




ไม่ว่าจะเป็นปัญหาของหน่วยงานใด กระบวนการใด ผู้นำ ผู้บริหาร ผู้จัดการ ต้องมีทักษะการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง (Root Cause Analysis) จึงจะสามารถนำพาธุรกิจสร้างความได้เปรียบ องค์กรมีความยั่งยืน

ตัวอย่างเช่น ปัญหายอดขายลดลง ก็ต้องมีการวิเคราะห์แยกแยะข้อมูล ด้านการขายตามผลิตภัณฑ์ ด้านตัวแทนขายแต่ละคน แต่ละภูมิภาค ด้านอื่น ๆ (ถ้ามี) แล้วรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ปัญหาที่มากที่สุดสำคัญที่สุด นำไปวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง 

เครื่องมือที่ใช้ในการสืบสาวเหตุปัจจัย

การวัดและการวิเคราะห์, ผังพาเรโต (Pareto Diagram), แผนภูมิก้างปลา (Fish Bone Diagram), Why-Why Analysis, 5W1H, การวิเคราะห์ด้วยผังความสัมพันธ์

ผลลัพธ์ที่ได้

รู้สาเหตุรากเหง้า (สาเหตุที่แท้จริง) ของปัญหา
รู้แนวทางการแก้ปัญหาที่สาเหตุรากเหง้า (สาเหตุที่แท้จริง)


“การจะคิดเป็นระบบได้ เกิดจากคิดอย่างเป็นเหตุและผล การเรียนทำให้มีความรู้ แต่การลงมือทำจะทำให้เกิดทักษะ”

 

อาจารย์วีรปรัชญ์ สิงห์สัตย์
ผู้เขียนหนังสือคัมภีร์บริหารธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจBCI

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้