การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 7

1067 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 7

การคิดเชิงระบบ (System Thinking) หลักการที่ 7

การวิเคราะห์คุณค่าเพิ่ม (Value Added) ความสูญเปล่า (Wastes or Non- Value Added) = วิธีคิดแบบรู้คุณค่าแท้ คุณค่าเทียม

การคิดเชิงระบบ ด้วยการวิเคราะห์คุณค่าเพิ่มและความสูญเปล่า เป็นการคิดเชิงระบบที่จะลดความสูญเปล่า (แก้ปัญหา) ในการทำงาน และหาคุณค่าใหม่ ๆ ให้แก่ลูกค้า (ปรับปรุง) เป็นการคิดเชิงระบบที่เป็นทักษะสำคัญในการบริหารจัดการ เพราะการจะแก้ปัญหาและปรับปรุงงานให้ได้นั้น ต้องระบุปัญหาหรือหัวข้อปรับปรุงให้ได้ ทำความเข้าใจกับปัญหา สังเกตการณ์การเกิดขึ้นของปัญหา มีข้อมูล มองเห็นรูปแบบซ้ำ ๆ จนสามารถกำหนดโครงสร้างระบบได้ จะทำให้ทำน้อยได้มาก (Doing Less Getting More)

“คุณค่าเพิ่ม (Value Added)” ในกระบวนการธุรกิจ คือกระบวนการที่มี ประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล สินค้าและบริการที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า

“ความสูญเปล่า (Wastes or Non-Value Added)” ในกระบวนการธุรกิจ ส่งผลต่อความไร้ประสิทธิภาพ และไม่เกิดประสิทธิผลของกระบวนการธุรกิจ สินค้าและบริการที่ไม่ตรงตามความต้องการของลูกค้า

การบริหารธุรกิจให้สามารถสร้างคุณค่าใหม่ ๆ ได้ ลดความสูญเปล่าได้ จะมีผลต่อความยั่งยืนขององค์กร ลูกค้าพึงพอใจและประทับใจ จำเป็นต้องฝึกการมองเห็นความผิดปกติซึ่งจะทำเกิดปัญหา (ความสูญเปล่า) มองหาโอกาส (สร้างคุณค่าเพิ่ม) ให้กับองค์กร

เหตุการณ์ (Events) : การทำงานต้องมีเป้าหมาย การทำงานกิจกรรมใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมายนั่นแสดงว่ามีปัญหาแล้ว (เป็นจุดอ่อน) สาเหตุหลัก ๆ จะเป็นความสูญเปล่า ต้องสังเกตการณ์เกิดความสูญเปล่า ในกรณีที่ทำได้ดีกว่าเป้าหมาย นั่นแสดงว่าเราเก่ง (เป็นจุดแข็ง) เราต้องมองหาโอกาสที่จะพัฒนาสิ่งใหม่ สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับลูกค้าและองค์กร

มีรูปแบบ (Patterns) : ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในการทำงานเราต้องเก็บข้อมูล สังเกตการณ์การเกิดขึ้นของปัญหาอย่างต่อเนื่อง วิเคราะห์การเกิดปัญหานั้นมาจากสาเหตุอะไร ? พยามจัดการกับสาเหตุนั้นให้ได้ ส่วนในเรื่องการพัฒนาสิ่งใหม่ การสร้างคุณค่าเพิ่ม ต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรความเก่งของเรา สามารถตอบสนองได้หรือไม่แล้วทดลองพัฒนาเป็น Prototype ต่อไป

มีการจัดทำโครงสร้างระบบ (System Structures) : ปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ หลังจากจัดการสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาได้ ก็จะจัดทำเป็นโครงสร้างระบบ เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาที่มีรูปแบบเดิม ๆ ไม่ต้องคอยคิดใหม่ การสร้างคุณค่าเพิ่มก็เช่นเดียวกัน การจัดทำโครงสร้างระบบโดยใช้เครื่องมือ จะทำให้พัฒนาสร้างคุณค่าเพิ่มได้เยอะและรวดเร็ว

ตัวอย่างการคิดเชิงระบบด้วยการวิเคราะห์คุณค่าเพิ่มและความสูญเปล่า

1. เหตุการณ์ หรือปัญหาที่พบ ค้นหาด้วยวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนภายในองค์กร ด้วยเครื่องมือ Value Chain

 


2. มีรูปแบบ จัดเก็บข้อมูล สังเกตการณ์ วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหา


3. มีการจัดทำโครงสร้างระบบ

หลักการคิดเชิงระบบการคิดเชิงระบบด้วยการวิเคราะห์คุณค่าเพิ่มและความสูญเปล่า

1. คิดแบบมีความเป็นองค์รวม (Holistic)

2. คิดแบบมีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน (Interaction)

3. คิดแบบมีเหตุและผล (Cause & Effect)

การสร้างคุณค่าเพิ่มในการบริหารธุรกิจคือ การสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน ของกระบวนการ เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ การแข่งขัน เพิ่มศักยภาพของจุดแข็งให้แข็งแกร่งขึ้น ส่วนจุดอ่อนให้พลิกวิกฤติเป็นโอกาส


เครื่องมือที่ใช้ในการแยกแยะส่วนประกอบเชิงวิเคราะห์

ผังกระบวนการทำงาน (Work Process Flow Chart), ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain), SWOT Analysis, ความสูญเปล่า 8 ประการ, เครื่องมือลดความสูญเปล่า (ECRS Technique), การรับฟังเสียงของลูกค้า (Voice of Customer), แบบจำลอง (Business Model Canvas), ส่วนประสมการตลาด 4Ps, STP Marketing, การวิเคราะห์ คุณลักษณะ คุณประโยชน์ และข้อได้เปรียบของสินค้าและบริการ (FAB Analysis)

ผลลัพธ์ที่ได้

• ลดต้นทุนในกระบวนการ เป็นผู้นำด้านต้นทุน
• ความแตกต่างในผลิตภัณฑ์และการบริการ
• ขจัดความสูญเปล่าในกระบวนการ
• เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
• ตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของลูกค้า
• ความพึงพอใจของลูกค้าเพิ่มมากขึ้น

การคิดเชิงระบบการคิดเชิงระบบด้วยการวิเคราะห์คุณค่าเพิ่มและความสูญเปล่า จึงเป็นหลักการคิดวิเคราะห์ที่ใช้ในการแก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนาองค์กรและธุรกิจ ให้กลยุทธ์มีความได้เปรียบในการแข่งขัน จึงเป็นการทำน้อยได้มาก (Doing Less Getting More) จะทำให้ป้องกัน ลด หรือหลีกเลี่ยงความเสี่ยงได้

“การจะคิดเป็นระบบได้ เกิดจากคิดอย่างเป็นเหตุและผล การเรียนทำให้มีความรู้ แต่การลงมือทำจะทำให้เกิดทักษะ”


อาจารย์วีรปรัชญ์ สิงห์สัตย์
ผู้เขียนหนังสือคัมภีร์บริหารธุรกิจสู่ความยั่งยืน
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาธุรกิจ BCI

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้